คลายความสงสัย? เผย!ขั้นตอนการผลิตเครื่องดื่มอัดลม!!

กรรมวิธีการผลิตน้ำอัดลม กรรมวิธีการผลิตน้ำอัดลมในโรงงานอุตสาหกรรม มีขั้นตอนดังนี้

1. การเตรียมน้ำบริสุทธิ์

เป็นขั้นตอนการเตรียมน้ำที่ใช้ในการผสมน้ำตาลและหัวน้ำเชื้อให้ได้น้ำอัดลมที่มีคุณภาพดี มีกลิ่นรสสม่ำเสมอ จำเป็นต้องใช้น้ำที่บริสุทธิ์กว่าน้ำดื่มปกติ โดยนำน้ำที่มีคุณภาพมาตรฐานตามน้ำดื่มมาปรับปรุงให้มีลักษณะปรากฏ รสชาติ และกลิ่นรสที่ดีขึ้น และกำจัดเกลือแร่บางชนิด ซึ่งอาจทำได้หลายวิธีขึ้นกับคุณภาพของแหล่งน้ำที่นำมาใช้ในการผลิต วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การกำจัดสารแขวนลอยโดยผ่านการกรองด้วยทราย กำจัดกลิ่นรสที่แปลกปลอมหรือไม่ต้องการ โดยเฉพาะกลิ่นคลอรีน ด้วยการกรองผ่านผงถ่านกัมมันต์

2. การเตรียมน้ำเชื่อม

เป็นการนำน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์มาผสมกับน้ำพร้อมกับเติมผงถ่านเพื่อฟอกสีน้ำตาลให้ขาว กรองให้ได้น้ำเชื่อมใสแล้วผ่านน้ำเชื่อมมายังถังที่ทำความเย็น เพื่อลดอุณหภูมิน้ำเชื่อมลงให้เหลือ 24 องศาเซลเซียส เพื่อให้กลิ่นหัวน้ำเชื้อคงอยู่ ถ้าอุณหภูมิสูงกลิ่นจะระเหยไป จากนั้นนำน้ำเชื่อมไปผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแสงอัลตราไวโอเลตก่อนที่จะนำไปผสมกับหัวน้ำเชื้อในขั้นตอนต่อไป การผสมน้ำเชื่อมกับหัวน้ำเชื้อ เป็นขั้นตอนการนำน้ำเชื่อมที่เตรียมได้มาผสมกับหัวน้ำเชื้อซึ่งหากเป็นหัวน้ำเชื้อที่ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ในรูปของเหลวและรูปของผลึกหรือผง จะต้องนำทั้งสองส่วนมาผสมเข้าด้วยกันเสียก่อน แล้วจึงนำมาผสมกับน้ำเชื่อม กวนด้วยใบพัดให้เป็นเนื้อเดียวกัน จะได้น้ำเชื่อมสำเร็จรูป (finished syrup) ซึ่งจะมีความเข้มข้นและความหวานสูง จึงต้องนำไปเจือจางให้มีความหวานตามที่ต้องการสำหรับน้ำอัดลมแต่ละชนิด ซึ่งจะอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 9.5-14.0

3. การผสม (mixing)

ส่วนผสมต่างๆ เช่น น้ำเชื่อม สารแต่งกลิ่นรส (flavoring agent) สี (coloring agentกรดซิตริกให้เป็นเนื้อเดียวกัน ตรวจวัดความเข้มข้นของส่วนผสม ด้วยการวัด ค่า brix และ pH

4. การอัดแก๊ส

การอัดแก๊สลงในน้ำอัดลมเป็นขั้นตอนสำคัญมากที่สุด เพราะจะทำให้เกิดรสซ่าของเครื่องดื่ม การอัดแก๊สจะเป็นการละลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลงในน้ำเชื่อมที่ผสมกับหัวน้ำเชื้อและทำให้เจือจางแล้ว ซึ่งการละลายจะเกิดได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ ความดันสูง การอัดแก๊สในโรงงานอุตสาหกรรมนิยมใช้ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เหลว ซึ่งเมื่อได้รับความร้อนจะเปลี่ยนสถานะมาอยู่ในรูปแก๊ส เมื่อเปิดแก๊สออก แก๊สจะผ่านคาร์โบเนเตอร์ (carbonator) ที่สามารถควบคุมปริมาณแก๊สที่จะเติมลงในเครื่องมือได้ การอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเครื่องดื่มจะอัดในปริมาตร 1-5 ขึ้นกับชนิดของเครื่องดื่ม

5. การบรรจุ

น้ำอัดลมที่ได้ผ่านการอัดแก๊สแล้วจะผ่านเข้าเครื่องบรรจุที่มีขวดหรือกระป๋องมารองรับและปิดฝา นำไปบรรจุลัง เรียงเป็นกะบะ แล้วเก็บไว้ในโรงเก็บ

6. สำหรับขวดที่ใช้ในการบรรจุเครื่องดื่มนั้น

จะเป็นขวดที่มีการหมุนเวียนเก็บจากตลาดมาใช้ ดังนั้นจึงต้องผ่านการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อก่อนที่จะนำมาใช้บรรจุเครื่องดื่มอีก การทำความสะอาดขวดจะใช้เครื่องล้างขวดซึ่งอาจแช่ขวดในสารละลายของโซดาไฟ หรือใช้หัวฉีดสารละลายโซดาไฟกับน้ำร้อยละ 3-4 ที่อุณหภูมิ 60-70 องศาเซลเซียส ลงในขวด แล้วฉีดด้วยน้ำทั้งด้านในและด้านนอกขวดให้สะอาดจนหมดสารละลายโซดาไฟซึ่งจะต้องตรวจสอบก่อนที่จะนำขวดไปใช้

มาตรฐานของน้ำอัดลม น้ำอัดลมแต่ละชนิดจะมีปริมาณน้ำตาล ปริมาณแก๊สและ pH ที่กำหนดเป็นมาตรฐานแตกต่างกัน มาตรฐานของเครื่องดื่มน้ำอัดลมแต่ละชนิด

ชนิดของเครื่องดื่มน้ำอัดลม ร้อยละของน้ำตาลปริมาตรก๊าซ pH โคลา10.2-11.0 3.4-3.9 2.4-2.6 รูทเบียร์ 9.5-12.0 3.0-4.0 2.8-4.0 องุ่น12.0-14.0 1.5-2.5 2.8-3.1 ส้ม12.0-13.5 1.5-2.0 2.8-3.2 มะนาว10.0-13.0 2.4-3.9 2.5-2.7 สตรอเบอร์รี่12.0-13.02.0-2.5 3.0-3.5ที่มา : Woodroot, 1981

อ้างอิง : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0095/carbonated-soft-drink-%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%A1

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *